announcement imageannouncement image
ข่าวประชาสัมพันธ์

Image
CML ตอนที่ 4 การรักษา

การรักษา

ในปัจจุบัน การรักษาโรคนี้ แตกต่างไปจากการรักษาก่อนปี 2544 แล้ว ปัจจุบันนี้ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตไม่ใช่การรักษาที่เป็นมาตรฐานอีกต่อไปแล้ว  ปัจจุบันการรักษาที่เป็นมาตรฐานคือการให้ยาที่มุ่งทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง (targeted therapy)โดยใช้ยาในกลุ่ม tyrosine kinase inhibitors (TKIs)

ซึ่งขณะนี้มียา 3 ตัวในประเทศไทยคือ.

1) อิมาทินิบ เป็นยาตัวแรก ในระยะเรื้อรังใช้ในขนาด 400 มก ต่อวัน รับประทานวันละครั้ง พร้อมอาหาร
สำหรับระยะลุกลามหรือระยะเฉียบพลัน ใช้ขนาด 600-800 มก ต่อวัน ให้รับประทานยาพร้อมอาหาร และน้ำแก้วใหญ่.

2)ผู้ป่วยที่ไม่ได้ผลต่ออิมาทินิบ หรือทนต่อผลข้างเคียงของอิมาทินิบไม่ได้ ให้ใช้นิโลทินิบ ขนาด 400 มก ทุก 12 ชั่วโมง ต้องรับประทานตอนท้องว่าง คือ งดอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนทานยา และงดอาหาร 1 ชั่วโมงหลังทานยา
จำเป็นต้องรับประทานยาตามที่แนะนำ เพราะอาหารจะทำให้การดูดซึมของยาเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาหารที่มีไขมันสูง จะยิ่งมีผลมาก ส่งผลต่อการรักษา วิธีดีที่สุดคือตื่นนอน( ซึ่งท้องว่างอยู่) ให้ทานยาเลย แล้วหลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมงจึงรับประทานอาหารเช้า. และนับไป 12 ชั่วโมง จึงจะรับประทานยามื้อที่ 2 ของวัน โดยต้องงดอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนยามื้อที่ 2
ผู้ป่วยที่รับประทานทั้งอิมาทินิบและนิโลทินิบ ต้องหล... อ่านเพิ่มเติม...


Image
CML ตอนที่ 5 ข้อควรระวังระหว่างทานยา

ในการรักษาด้วยยาในกลุ่มTKIs นี้ จำเป็นต้องระวังหลายประการ
1)ให้งดการรับประทานส้ม มะเฟือง ทับทิม รวมทั้งน้ำของผลไม้ดังกล่าว
2) มีคำถามที่ผู้ป่วยถามบ่อยๆคือ ทานมะนาวได้หรือไม่. เนื่องจากอาหารไทยมักมีมะนาวเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ถ้าเป็นอาหารเช่น จำพวกยำ ต้มยำ ลาบ ไม่ได้ห้าม แต่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมะนาวเป็นแก้วๆ หรือมะนาวโซดา เป็นต้น
3) ยาหลายตัวมีผลต่อการดูดซึมของยาในกลุ่ม TKIs ดังนั้น ควรแจ้งแพทย์ว่าคุณทานยากลุ่มนี้ แพทย์สามารถหาข้อมูลได้ว่ายาตัวไหนมีผลต่อการดูดซึมของยากลุ่มนี้

4) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอล. ถ้าจำเป็น ก็ทานให้น้อยที่สุด

5)วินัยในการรับประทานยาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะตัดสินว่าการรักษาของคุณจะได้ผลดีหรือไม่
ถ้าวินัยดี โอกาศที่การรักษาจะได้ผลดีมีมาก ตลอดเวลา 40 กว่าปีที่รักษาผู้ป่วยCMLมา และ เกือบ 20 ปีที่รักษาผู้ป่วยด้วยยากลุ่มนี้มาเกิน 300 ราย พบว่าผู้ป่วยที่วินัยในการรับประทานยาไม่ดี สุดท้ายแล้ว การรักษามักไม่ได้ผลมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่วินัยในการรับประทานยาดี แต่โรคไม่ตอบสนองต่อยา ทุกวันนี้ ถึงแม้จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงข้อดี ข้อเสียของการมี หรือไม่มี วินัยในการรับประทานยา ก็ยังมีผู้ป่วยในความดูแลที่ยังมีปัญหาในการที่จะรับประทานยาให้สม่ำเสมอ สุดท้ายแล้ว การไม่มีวินัยในการรับประทานยา ก็อาจส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ตัวที่รุนแรงเช่น... อ่านเพิ่มเติม...


Image
CML ตอนที่ 6 ผลข้างเคียงของยาอิมาทินิบ

ยาทุกตัว ย่อมมีผลข้างเคียงทั้งนั้น

ยาในกลุ่ม TKIs ก็ไม่มียกเว้น ยาในกลุ่ม TKIs มีผลข้างเคียงหลายอย่างที่คล้ายกัน แต่ก็มีผลข้างเคียงของแต่ละตัวเด่นด้วย ดังนั้น จะแยกพูดถึงแต่ละตัวเป็นตอนๆไป

ผลข้างเคียงของยาอิมาทินิบที่พบได้แก่

1) บวมหน้าหรือบวมตามตัว ตามแขนขา. ส่วนใหญ่ ถ้ารับประทานในขนาดวันละ 400 มก อาการบวมมักเป็นไม่มาก อาจจะแค่รู้สึกรำคาญเท่านั้น แต่ถ้าทานวันละ 600 หรือ 800 มก อาการบวมอาจจะมากถึงขนาดบวมทั้งตัวได้
2) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือ ปวดกระดูก โดยมากมักเป็นใน2-3 สัปดาห์แรกๆ หลังจากนั้น อาการมักจะดีขึ้น ถ้าจำเป็น แพทย์อาจให้ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอล
3)ผื่นคันตามผิวหนัง. พบไม่บ่อย แต่บางครั้งอาจพบรุนแรงได้ จำเป็นต้องหยุดยาชั่วคราว ถ้าหลังจากหยุดยา แล้วผื่นหายไป แต่พอกลับมารับประทานอีก เกิดผื่นมากขึ้นอีก อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยา
4) นานๆครั้งอาจพบน้ำท่วมปอดได้ แต่โชคดีที่พบไม่บ่อย
5) คลื่นไส้, ท้องเสีย
6) ความผิดปกติทางเลือดที่พบได้คือ เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดต่ำ ถ้าต่ำมาก จำเป็นต้องหยุดยาชั่วคราวจนกว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดกลับมาปกติจึงกลับมารับประทานใหม่ได้ ถ้าหลังจากกลับมารับประทานแล้วยังมีเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดต่ำอีก อาจจำเป็นต้องลดขนาดของยาอิมาทินิบ จาก 400 มก.ต่อวัน เป็น 300 มก.ต่อวัน แต่ไม่ควรลด... อ่านเพิ่มเติม...