announcement imageannouncement image
ข่าวประชาสัมพันธ์

Image
CML ตอนที่ 10 การตรวจทางห้องปฎิบัติการที่สำคัญ

ในตอนที่ 9 ได้กล่าวแล้วว่ามีการตรวจทางห้องปฎิบัติการที่สำคัญ 2 อย่าง คือ

1) การตรวจไขกระดูก รายละเอียดได้กล่าวแล้วในตอนที่ 9
2) การตรวจเลือดดูทางโมเลกุล

ดังที่ได้กล่าวในตอนที่ 9 แล้วว่า ถึงแม้ว่าตรวจไม่พบฟิลาเดลเฟียโครโมโซม ก็ยังมีเซลล์มะเร็งอยู่อีกจำนวนมาก เพราะเริ่มต้นด้วยเซลล์มะเร็งหนึ่งล้านล้านตัว การตรวจไขกระดูกไม่พบ ไม่ได้หมายความว่าเซลล์มะเร็งหายหมดแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจที่ละเอียดขึ้น คือการตรวจทางโมเลกุล เรียกการตรวจนี้ว่า PCR ซึ่งเป็นการตรวจหายีน bcr-abl ซึ่งจะตรวจได้ละเอียดกว่าการตรวจไขกระดูก เพราะเป็นการตรวจเซลล์ในหลักหมื่น ในขณะที่การตรวจไขกระดูก ตรวจได้ในหลักสิบเท่านั้น แต่มีข้อที่ต้องทราบคือการตรวจทางโมเลกุลนี้ ต้องเป็นห้องปฎิบัติการที่สามารถรายงานผลเป็นตามมาตรฐานสากล คือรายงานเป็น %IS เท่านั้น ถ้าห้องปฎิบัติการที่ไม่มี%IS ถือว่ายังไม่ได้มาตรฐาน  ปัจจุบันโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์หลายแห่งสามารถทำได้แล้ว เมื่อตรวจทางโมเลกุลแล้ว ไม่พบ (undetected) ก็ไม่ได้หมายความว่าเซลล์มะเร็งหายหมดแล้ว เพราะยังเหลือเซลล์มะเร็งอยู่อีกจำนวนมากพอสมควรค่ะ. จึงยังคงต้องรับประทานยาต่อค่ะ


Image
CML ตอนที่ 11 การติดตามการรักษา

การติดตามการรักษา
1)ก่อนเริ่มต้นการรักษา ต้องเจาะไขกระดูกดูว่ามีฟิลาเดลเฟียโครมโมโซมหรือไม่เพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จริง
2) ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ดิฉันจะเจาะ PCR ดูระดับของ bcr-abl ก่อนการรักษาเสมอ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับผลหลังการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีฟิลาเดลเฟียโครโมโซมตอนวินิจฉัย ก็จำเป็นต้องตรวจดูว่ามี bcr-abl หรือไม่ ถ้ามีก็ยังถือว่าเป็นโรคนี้
3) ดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด(CBC)
4) ดูค่าน้ำตาลในเลือด ตลอดจน การทำงานของตับ ไต ค่าเกลือแร่ในเลือดเป็นระยะๆ จากการติดตามผู้ป่วยมานานเกิน 10 ปี พบว่าผู้ป่วยหลายรายมีผลเลือดต่างๆผิดปกติได้โดยไม่มีอาการอะไร. ดังนั้นถ้าไม่ได้ตรวจก็จะไม่ทราบ
5) หลังการรักษา ปกติจะตรวจดูว่าฟิลาเดลเฟียโครโมโซมลดลงเป็นเท่าไรแล้ว ที่ 3,6,12 เดือนหลังได้รับยา
6)ตรวจทางโมเลกุลโดยวิธีPCR เพื่อดูระดับของ bcr-abl ในเลือด ที่ 3,6,12 เดือนหลังการรักษา
รายละเอียดของผลข้อ 5 และ 6 จะกล่าวในตอนต่อไป


Image
CML ตอนที่ 12. ความคาดหวังผลการรักษา

ความคาดหวังผลการรักษา

เราควรจะประเมินผลการรักษาว่าเป็นอย่างไร หลังจากรับประทานยาไปแล้ว 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน โดยดูตามมาตรฐานของยุโรป (European Leukemia Net, ELN 2013) ซึ่งมีผลการประเมินเป็น 3 แบบคือ

1) Optimal response คือได้ผลตามเป้าหมาย
2)เป็น warning คืออยู่ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง ในกรณีนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาตัวเดิมต่อไปก่อน แล้วดูผลการรักษาอีกครั้ง เช่น ที่ 3 เดือน ได้ผลเป็น warning ก็อาจรอดูผลที่ 6 เดือน แล้วค่อยตัดสินใจ
3) เป็น failure คือไม่ได้ผลจากการรักษาในกรณีเช่นนี้ ก็น่าจะพิจารณาเปลี่ยนยาเลย