Image
CML ตอนที่ 1 สาเหตุ

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวขนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML)

เกิดจากมีการแลกที่กันของบางส่วนของแขนยาวของโครมโมโซมคู่ที่ 9 และ 22 ทำให้เรียกโครโมโซมคู่ที่ 22 ที่มีส่วนของคู่ที่ 9 อยู่ด้วยว่า “ฟิลาเดลเฟียโครมโมโซม”

บนฟิลาเดลเฟียโครโมโซม  มียีนที่เรียกว่า bcr-abl ซึ่งเป็นสารก่อโรคในปัจจุบัน

เนื่องจากมีการตรวจร่างกายประจำปีกันมากขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นมากขึ้น โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ อายุประมาณ 40 ปี แต่ในเด็ก หรือผู้สูงอายุก็พบได้

เรายังไม่ทราบสาเหตุของโรค แต่พบว่าผู้ที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชีมาและนางาซากิ มีอัตราการเกิดโรคนี้ สูงกว่าคนปกติหลายเท่า แต่จากประสบการณ์ที่ดูผู้ป่วยโรคนี้มานาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีประวัติการได้รังสีมาก่อน 

การที่มีการแลกที่กันของโครโมโซมคู่ที่ 9 และ 22 ทำให้ วันที่ 22 เดือน 9 ของทุกปี ถือเป็นวัน CML โลก และผู้ป่วยCML มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวัน CML โลก กันทั่วโลก


Image
CML ตอนที่ 2 อาการของโรค

อาการของโรคนี้

มีตั้งแต่ ไม่มีอาการ ตรวจพบโดยบังเอิญ หรืออาการไม่เฉพาะเจาะจง เช่น เพลีย ไม่มีแรง ผอมลง ทานข้าวแล้วแน่นท้อง คลำก้อนได้ในท้อง เป็นต้น

การตรวจร่างกายอาจพบม้ามโตได้ บางครั้งอาจพบตับโตได้  ตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด อาจมีเม็ดเลือดแดงลดลง
เม็ดเลือดขาวมักจะสูงขึ้น มีตัวอ่อนระยะต่างๆของเม็ดเลือดขาวออกมาให้เห็น เกล็ดเลือดอาจปกติ หรือสูงได้ การวินิจฉัย ต้องเจาะไขกระดูกเพื่อดูว่ามีฟิลาเดลเฟียโครโมโซมหรือไม่ และดูลักษณะของเซลล์ในไขกระดูกว่าอยู่ในระยะอะไร 

ที่รพ.รามาธิบดี ดิฉันจะเจาะดู RQ-PCR เพื่อดูยีน bcr-abl ตอนเริ่มวินิจฉัยไว้เสมอ เพื่อใช้เปรียบเทียบหลังจากรักษาแล้ว ผู้ป่วยที่ดูลักษณะทางคลินิกเหมือนโรคCML นั้น พบว่า 90% จะตรวจพบฟิลาเดลเฟียโครมโมโซม 10% ตรวจไม่พบโครโมโซมดังกล่าว แต่กว่า 5% พบยีน bcr-abl ดังนั้นจึงถือว่าเป็นโรคนี้ ไม่ถึง 5% ที่ไม่พบทั้งฟิลาเดลเฟียโครโมโซมและยีน bcr-abl จึงไม่น่าจะใช่โรคนี้ 

ในปัจจุบันการจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ ต้องตรวจพบ ฟิลาเดลเฟียโครโมโซม และหรือ bcr-abl จึงจะสรุปได้ว่าเป็นโรคนี้


Image
CML ตอนที่ 3 ระยะของโรค

โรคนี้มี 3 ระยะ คือ

1) ระยะเรื้อรัง
2) ระยะลุกลาม
3) ระยะเฉียบพลัน

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ในระยะเรื้อรัง มีเพียงส่วนน้อยที่จะมาในระยะที่ 2 หรือ 3

เป้าหมายของการรักษา คือ ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในระยะเรื้อรังให้นานที่สุด คือไม่ให้ผู้ป่วยไปสู่ระยะที่ 2 หรือ 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะที่ 3 เพราะการรักษาในระยะที่ 3 ส่วนใหญ่ได้ผลไม่ดี ในผู้ป่วยที่ได้ผล ก็มักไม่ยืนยาว ต้องไปทำการักษาอย่างอื่นต่อ เช่น การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตต่อ เป็นต้น


Image
CML ตอนที่ 4 การรักษา

การรักษา

ในปัจจุบัน การรักษาโรคนี้ แตกต่างไปจากการรักษาก่อนปี 2544 แล้ว ปัจจุบันนี้ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตไม่ใช่การรักษาที่เป็นมาตรฐานอีกต่อไปแล้ว  ปัจจุบันการรักษาที่เป็นมาตรฐานคือการให้ยาที่มุ่งทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง (targeted therapy)โดยใช้ยาในกลุ่ม tyrosine kinase inhibitors (TKIs)

ซึ่งขณะนี้มียา 3 ตัวในประเทศไทยคือ.

1) อิมาทินิบ เป็นยาตัวแรก ในระยะเรื้อรังใช้ในขนาด 400 มก ต่อวัน รับประทานวันละครั้ง พร้อมอาหาร
สำหรับระยะลุกลามหรือระยะเฉียบพลัน ใช้ขนาด 600-800 มก ต่อวัน ให้รับประทานยาพร้อมอาหาร และน้ำแก้วใหญ่.

2)ผู้ป่วยที่ไม่ได้ผลต่ออิมาทินิบ หรือทนต่อผลข้างเคียงของอิมาทินิบไม่ได้ ให้ใช้นิโลทินิบ ขนาด 400 มก ทุก 12 ชั่วโมง ต้องรับประทานตอนท้องว่าง คือ งดอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนทานยา และงดอาหาร 1 ชั่วโมงหลังทานยา
จำเป็นต้องรับประทานยาตามที่แนะนำ เพราะอาหารจะทำให้การดูดซึมของยาเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาหารที่มีไขมันสูง จะยิ่งมีผลมาก ส่งผลต่อการรักษา วิธีดีที่สุดคือตื่นนอน( ซึ่งท้องว่างอยู่) ให้ทานยาเลย แล้วหลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมงจึงรับประทานอาหารเช้า. และนับไป 12 ชั่วโมง จึงจะรับประทานยามื้อที่ 2 ของวัน โดยต้องงดอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนยามื้อที่ 2
ผู้ป่วยที่รับประทานทั้งอิมาทินิบและนิโลทินิบ ต้องหล... อ่านเพิ่มเติม...


Image
CML ตอนที่ 5 ข้อควรระวังระหว่างทานยา

ในการรักษาด้วยยาในกลุ่มTKIs นี้ จำเป็นต้องระวังหลายประการ
1)ให้งดการรับประทานส้ม มะเฟือง ทับทิม รวมทั้งน้ำของผลไม้ดังกล่าว
2) มีคำถามที่ผู้ป่วยถามบ่อยๆคือ ทานมะนาวได้หรือไม่. เนื่องจากอาหารไทยมักมีมะนาวเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ถ้าเป็นอาหารเช่น จำพวกยำ ต้มยำ ลาบ ไม่ได้ห้าม แต่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมะนาวเป็นแก้วๆ หรือมะนาวโซดา เป็นต้น
3) ยาหลายตัวมีผลต่อการดูดซึมของยาในกลุ่ม TKIs ดังนั้น ควรแจ้งแพทย์ว่าคุณทานยากลุ่มนี้ แพทย์สามารถหาข้อมูลได้ว่ายาตัวไหนมีผลต่อการดูดซึมของยากลุ่มนี้

4) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอล. ถ้าจำเป็น ก็ทานให้น้อยที่สุด

5)วินัยในการรับประทานยาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะตัดสินว่าการรักษาของคุณจะได้ผลดีหรือไม่
ถ้าวินัยดี โอกาศที่การรักษาจะได้ผลดีมีมาก ตลอดเวลา 40 กว่าปีที่รักษาผู้ป่วยCMLมา และ เกือบ 20 ปีที่รักษาผู้ป่วยด้วยยากลุ่มนี้มาเกิน 300 ราย พบว่าผู้ป่วยที่วินัยในการรับประทานยาไม่ดี สุดท้ายแล้ว การรักษามักไม่ได้ผลมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่วินัยในการรับประทานยาดี แต่โรคไม่ตอบสนองต่อยา ทุกวันนี้ ถึงแม้จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงข้อดี ข้อเสียของการมี หรือไม่มี วินัยในการรับประทานยา ก็ยังมีผู้ป่วยในความดูแลที่ยังมีปัญหาในการที่จะรับประทานยาให้สม่ำเสมอ สุดท้ายแล้ว การไม่มีวินัยในการรับประทานยา ก็อาจส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ตัวที่รุนแรงเช่น... อ่านเพิ่มเติม...